- คำอธิบาย
การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการ คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและตรวจสอบได้ และป้องกันปัญหาทุจริต
การให้และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ถือเป็นมาตรการสำคัญที่ส่งเสริมกระบวนการป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ โดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และสัญญาใดๆ ที่มีการอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ สถานที่ทำการของส่วนราชการ และระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ และตามประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง กำหนดให้ข้อมูลข่าวสารตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใสและตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการจัดหาพัสดุ ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ เพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใส เป็นธรรมและเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานภาครัฐ จึงต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างทุกรายการและทุกขั้นตอน และตามประกาศฯคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง กำหนดให้ข้อมูลข่าวสารตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใส และตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
นอกจากการให้และเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว การตรวจสอบความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใส โดยหน่วยงานจะต้องกำหนดวิธีการ หรือกระบวนการในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างว่ามีความสัมพันธ์หรือรู้จักสนิทสนมกับผู้ที่มาเสนองานหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนตามนัยในมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละไตรมาส หรือในแต่ละปีงบประมาณ การจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจ้างจะเป็นวิธีการหนึ่งในการสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านมาในภาพรวมว่าเป็นไปตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ มีความคุ้มค่าหรือมีความสามารถในการประหยัดงบประมาณได้มากน้อยเพียงใด วิธีการจัดซื้อจัดจ้างมีแนวโน้มเป็นไปในวิธีการใด มีการใช้งบประมาณในแต่ละวิธีการเป็นจำนวนเงินเท่าใด วิธีการนั้นมีความเสี่ยงหรือข้อจำกัดอย่างไร/หรือไม่ รวมทั้งจะต้องมีการจัดทำข้อเสนอเพื่อนำไปปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในปีต่อไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการทบทวนและวางแผนการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณต่อไปให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าสูงสุด
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญยิ่งหน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดซื้อจัดจ้าง หมายถึง การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุโดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยนหรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของหน่วยงาน หมายถึง แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น
แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค เฉพาะงบลงทุน (ค่าครุภัณฑ์ และที่ดินก่อสร้าง) หมายถึง แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของหน่วยงาน เฉพาะงบลงทุน (ค่าครุภัณฑ์ และที่ดินก่อสร้าง) และตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และประกาศเผยแพร่ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น
ข้อกำหนดงบประมาณที่ต้องดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดำเนินการในทุกหมวดเงินงบประมาณประกอบด้วย - การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ภายใต้ EB1 หมายถึง หน่วยงานต้องดำเนินการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ภายใต้ EB1 บนเว็บไซต์ของหน่วยงานเท่านั้น
- ข้อกำหนดงบประมาณที่ต้องดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดำเนินการในทุกหมวดเงินงบประมาณประกอบด้วย
- 1. งบดำเนินงาน
- งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
- เงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
2. งบลงทุน
- งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
- งบเงินอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
- งบรายงายจ่ายอื่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
- เงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - EB 1 หน่วยงานมีการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
- รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีสำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี..คลิ๊ก
- EB 2 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส
- ออกประกาศการเผยแพร่แผนปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี..คลิ๊ก
- EB 5 หน่วยงานของท่านเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามภารกิจหลักของหน่วยงานอย่างไร
- การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)ประจำปี2563…คลิ๊ก
- EB 6 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ตามภารกิจหลักของหน่วยงาน หรือไม่
- การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)ประจำปี2563…คลิ๊ก
- คำอธิบาย
หน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานอย่างตรงไปตรงมา มีความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานตามนโยบายที่ประกาศไว้ เป็นไปตาม
1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 41 (1) บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 59 รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมาย บัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก
2) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ไว้ให้ประชาชนได้ตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด … (8) ข้อมูลข่าวสารอื่น ตามที่คณะกรรมการกำหนด”
3) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ที่มีมติให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ และดำเนินการอย่างเคร่งครัด ตามประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง กำหนดข้อมูล ข่าวสารตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใสและตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐเป็นข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เนื่องจากข้อมูลข่าวสารตามประกาศดังกล่าวมีความสำคัญ จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมและเสริมสร้าง ความโปร่งใสของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขราชการบริหารส่วนกลาง และสอดคล้อง กับบริบทตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และได้กำหนดไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหลายส่วน ได้แก่ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 59 กำหนดให้รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงาน ของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือความลับของทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก
4) ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกความร่วมมือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Partnership : OGP) ซึ่งมีกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางเป็นเจ้าภาพในการเสนอตัวเข้าร่วม เป็นภาคีสมาชิกความร่วมมือ OGP โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เห็นชอบตามที่ กระทรวงการคลังเสนอ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนและจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลภาครัฐ ครอบคลุมเรื่องการเปิดเผย ข้อมูลภาครัฐทั้งข้อมูลเชิงรุกและข้อมูลเชิงรับ และกลไกการเสริมสร้างการเข้าถึงข้อมูล (Access to Information) และการเปิดกว้างในการเข้าถึงข้อมูลความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
5) เป็นเครื่องมือในการวัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒ นาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในเป้าประสงค์ที่16.6 เรื่อง “พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิด รับชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ” เป้าประสงค์ที่16.10 เรื่อง “สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึง ข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่าง ประเทศ” - EB 8 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
- ประกาศกรอบแนวทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านเวบไซน์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น…คลิ๊ก
- EB 9 หน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน
- แผนการพัฒนาคุณภาการบริหารจัดการภาครัฐประจำปีงบประมาณ2563…คลิ๊ก
- ข่าวประชาสัมพันธ์สาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น…คลิ๊ก
- ข้อบังสำนักงานกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560…คลิ๊ก
- คำอธิบาย
หน่วยงานต้องแสดงถึงการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มใจ กระตือรือร้น มีความพร้อมที่จะให้บริการ หรือส่งมอบงานต่อสาธารณะตามที่กำหนดไว้ในพันธกิจ และยึดหลักการกระจายผลประโยชน์ที่ถูกต้องชอบธรรมและเสมอภาค ให้ทุกภาคส่วนได้รับการแก้ไขปัญหาและได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง รวมถึงความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารของหน่วยงานด้วยซื่อสัตย์สุจริต พร้อมรับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชนว่าการขับเคลื่อน
หน่วยงานจะเป็นไปอย่างมีคุณธรรมและธรรมาภิบาลหน่วยงานจะต้องเผยแพร่รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการในปีที่ผ่านมาและมีการเผยแพร่แผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน เพื่อให้สาธารณชนได้ติดตามตรวจสอบว่าหน่วยงานได้ดำเนินการภารกิจตามพันธกิจของหน่วยงานและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนหรือไม่ตลอดจนประเมินกลไกการการกำกับติดตามการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน - EB 10 หน่วยงานมีการเผยแพร่แผนปฏิบัติการประจำปี
- แผนปฏิบัติการพัฒนางานสาธารณสุขเครือข่ายบริสุขภาพอำเภอน้ำขุ่นปีงบประมาณ 2563…คลิ๊ก
- EB 11 หน่วยงานมีการเผยแพร่รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี (ที่ผ่านมา)
- ระบบข้อมูลตัวชี้วัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่นปี 2563 Cockpit63..คลิ๊ก
- EB 12 หน่วยงานมีการเผยแพร่การกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี
- รายงานการติดตามการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ non uc ปี2563..คลิ๊ก
- คำอธิบาย
หน่วยงานต้องแสดงถึงการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และมุ่งตอบสนองต่อผู้รับบริการหรือประชาชน - EB 13 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการบริหารผลการปฏิบัติงาน และการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ
- ประกาศ.กระทรวงสาธารณสุขเรื่องการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ..คลิ๊ก
- คำอธิบาย
เพื่อให้ผู้บริหารของหน่วยงานได้แสดงถึงเจตจำนงสุจริตและความมุ่งมั่น ในการบริหารงานให้สำเร็จตามพันธกิจของหน่วยงานอย่างมีธรรมาภิบาล - EB 15 หน่วยงานมีการเผยแพร่เจตจำนงสุจริตของผู้บริหารต่อสาธารณชน
- คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานประจำศูนย์รับเรื่องราวร้องทกข์ ร้องเรียน หน่วยบริการปฐมภูมิสังกัดสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น….คลิ๊ก
ITA -EB 16 ตัวชี้วัดที่ 7 : การจัดการเรื่องร้องเรียน
คำอธิบาย
หน่วยงานต้องให้ความสำคัญในการรับฟังเสียงสะท้อนหรือข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือประชาชน รวมถึงการแจ้งเบาะแส การร้องเรียนเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบ และจะต้องมีกระบวนการจัดการ ตอบสนองต่อข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน และการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของหน่วยงาน ถือเป็นระบบที่สำคัญในการยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้มารับบริการมีช่องทางที่จะร้องเรียนการให้บริการหรือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตระหนักและปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้รับบริการรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น การมีระบบการจัดการเรื่องร้องเรียนต่างๆ ของหน่วยงานจึงถือว่า เป็นการส่งเสริมความโปร่งใสให้หน่วยงานได้อีกวิธีหนึ่ง รวมถึงจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มารับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถสะท้อนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย
เรื่องร้องเรียนทั่วไป หมายถึง เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ความไม่เป็นธรรมในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ โดยมีผู้ใช้บริการหรือผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานโดยตรง รวมถึงผู้ใช้บริการหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานอื่นและส่งต่อมายังหน่วยงานผู้เข้ารับการประเมินดำเนินการ ทั้งนี้ เรื่องร้องเรียนทั่วไปต้องเป็นเรื่องร้องเรียนที่มีการดำเนินการตามคู่มือปฏิบัติการฯ เสร็จสิ้นภายในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 หรืออาจจะเป็นเรื่องร้องเรียนทั่วไปของปีงบประมาณที่ผ่านมา แต่ยังมีการดำเนินการต่อในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
เรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ หมายถึง เรื่องร้องเรียนการดำเนินงานเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของหน่วยงาน โดยมีผู้ร้องเรียน/แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน รวมถึงมีผู้ใช้บริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานอื่น และได้ส่งต่อ มายังหน่วยงานผู้เข้ารับการประเมินดำเนินการ ทั้งนี้ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการการทุจริตและประพฤติมิชอบต้องเป็นเรื่องร้องเรียนที่มีการดำเนินการตามคู่มือปฏิบัติการฯ เสร็จสิ้นภายในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 หรืออาจจะเป็นเรื่องร้องเรียนร้องเรียน/แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบของปีงบประมาณที่ผ่านมาแต่ยังมีการดำเนินการต่อในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
การตอบสนองต่อเรื่องร้องเรียน หมายถึง ระบบการตอบสนองหรือรายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนทราบ ที่เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 38 โดยมีการกำหนดระยะเวลาในการตอบสนองหรือการแจ้งผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน หรือเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต และประพฤติมิชอบ ให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 15 วัน
สรุปผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียน หมายถึง สรุปผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนทั่วไป และเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีการวิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ภายในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 2 รอบการประเมิน คือ รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน
กรณีในปีงบประมาณ หน่วยงานไม่มีเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน หรือเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือกรณีใดกรณีหนึ่ง
หน่วยงาน ต้องจัดทำรายงานสรุปผลว่าหน่วยไม่มีเรื่องร้องเรียนในปีงบประมาณ หรือมีเพียงกรณีใด กรณีหนึ่ง และเผยแพร่ให้สาธารณชนสามารถเข้ามาตรวจสอบดูได้ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่าหน่วยงานมีความโปร่งใส และมีระบบในการจัดการเรื่องร้องเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
- ITA -EB 17 ตัวชี้วัดที่ 6 : การรับสินบน
คำอธิบาย
หน่วยงานจะต้องทราบสถานการณ์การทุจริตการรับสินบนที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการป้องกันการรับสินบนที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
สินบน (Bride) หมายถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ให้แก่บุคคล เพื่อจูงใจให้บุคคลผู้นั้นให้กระทำการ หรือประวิงเวลาการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
- ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ เช่น เงิน บ้าน รถ
- ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ หมายความรวมถึง
1) การปลดหนี้หรือการลดหนี้ให้เปล่า
2) การให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
3) การเข้าค้ำประกันโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
4) การให้ค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทน
5) การขายหรือการให้เช่าซื้อทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่เป็นจริงตามที่ปรากฏในท้องตลาด
6) การซื้อหรือการเช่าซื้อทรัพย์สินสูงกว่ามูลค่าที่เป็นจริงตามที่ปรากฏในท้องตลาด
7) การให้ใช้สถานที่ ยานพาหนะ หรือทรัพย์สิน โดยคิดค่าเช่าหรือค่าบริการ หรือคิดค่าเช่าหรือค่าบริการน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า
8) การให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ หรือคิดค่าบริการน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า
9) การให้ส่วนลดในสินค้าหรือทรัพย์สินที่จำหน่าย โดยให้ส่วนลดมากกว่า ที่ให้แก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า
10) การให้เดินทาง หรือให้ขนส่งบุคคลหรือสิ่งของ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า
11) การจัดเลี้ยง การจัดมหรสพหรือการบันเทิงอื่นให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิด แก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า
12) การให้บริการวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร กฎหมายหรือบัญชีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า
13) การให้รางวัล
14) การชำระเงินล่วงหน้าหรือการคืนเงินให้ในภายหลัง
15) การอื่นใดซึ่งเป็นการกระทำ ที่ทำให้ผู้นั้นได้รับประโยชน์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ หรือไม่ต้องออกค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ประกาศกำหนด
(ที่มา : ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ….) - EB 17 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการป้องกันการรับสินบน
- ประกาศมาตรการและแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันการทุจริต การให้หรือรับสินบน และการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน…คลิ๊ก
- ITA -EB 18-19 ตัวชี้วัดที่ 9 : การเสริมสร้างวัฒนธรรมสุจริต
คำอธิบาย
หน่วยงานจะต้องส่งเสริม และปลูกฝังพฤติกรรมการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต และไม่ทนต่อการทุจริต และพัฒนาให้เป็นวัฒนธรรมและค่านิยมของหน่วยงาน ด้วยการปลูกฝัง สั่งสอน หรือถ่ายทอดแก่กันของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นแนวทางปฏิบัติประจำหรือวัฒนธรรมของหน่วยงานซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ ต้องเป็นการปฏิบัติตนหรือทัศนคติที่เป็นการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ให้ไม่ยอมรับพฤติกรรมการทุจริตต่าง ๆ ในหน่วยงาน จนกระทั่งไม่ทนต่อการทุจริต และก่อให้เกิดการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) ส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเกิดความอายหรือความกลัวที่จะกระทำการทุจริตได้ รวมไปถึงกระบวนการของหน่วยงานที่จะต้องปลูกฝังและสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางความคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม
นอกจากนี้ การรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลการบริหารงานของหน่วยงาน รวมทั้ง ยังสะท้อนถึงการริเริ่มเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมในการดำเนินงาน และการพัฒนาการดำเนินงานให้มีความโปร่งใส
การรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส หมายถึง กลุ่มของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานที่มีการจัดตั้งแบบเป็นทางการ โดยมีลักษณะของกลุ่ม ดังนี้
(1) มีสมาชิกของกลุ่ม และกลุ่มของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อการบริหารงานที่โปร่งใสดังกล่าวให้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ และต้องไม่ใช่กลุ่มตามโครงสร้างหน่วยงาน เช่น กลุ่มตรวจสอบภายใน หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการจริยธรรมประจำสวนราชการ คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เป็นต้น
(2) มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มที่ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์หรือส่งเสริมให้หน่วยงานมีการบริหารงานที่โปร่งใส
(3) มีแนวทางการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มที่ชัดเจน
(4) มีกิจกรรมการดำเนินงานของกลุ่มที่มีความต่อเนื่อง
กิจกรรมที่แสดงถึงความพยายามที่จะปรับปรุงการบริหารงานของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ของกลุ่มเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ได้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์หรือส่งเสริม หรือปรับปรุงการบริหารงานของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น - EB 18 หน่วยงานมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมสุจริตและการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงาน
- คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการรณรงค์ส่งเสริมตรวจสอบความโปร่งใสในการบริหารงาน….คลิ๊ก
- EB 19 หน่วยงานมีการรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่เพื่อการบริหารงานที่โปร่งใสหรือไม่ และกลุ่มดังกล่าวมีกิจกรรมที่แสดงถึงความพยายามที่จะปรับปรุงการบริหารงานของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้นหรือไม่
- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมจริยธรรมสำนักงานสาธาณสุขอำเภอน้ำขุ่น…คลิ๊ก
- ITA -EB 20-22 ตัวชี้วัดที่ 10 : การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
คำอธิบาย
ผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่กลับเข้าไปมีส่วนได้เสียกับกิจกรรมหรือการดำเนินการที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง ทำให้การใช้อำนาจหน้าที่เป็นไปโดยไม่สุจริต ก่อให้เกิดผลเสียต่อภาครัฐ โดยการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมมีได้หลายรูปแบบไม่จำกัดอยู่เฉพาะในรูปแบบของตัวเงิน หรือทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของตัวเงินหรือทรัพย์สินด้วย ทั้งนี้ John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จำแนกรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ออกเป็น 7 รูปแบบ และสำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดเพิ่มอีก 2 รูปแบบ (รูปแบบที่ 8 และรูปแบบที่ 9) รวมทั้งสิ้น 9 รูปแบบ ได้แก่
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ และผลจากการรับผลประโยชน์นั้นส่งผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
2. การทำธุรกิจกับตัวเองหรือเป็นคู่สัญญา
3. การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งสาธารณะหรือหลังเกษียณ โดยใช้อิทธิพลหรือความสัมพันธ์จากที่เคยดำรงตำแหน่งในหน่วยงานนั้นหาประโยชน์จากหน่วยงาน
4. การทำงานพิเศษโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการสร้างความน่าเชื่อถือ
5. การรู้ข้อมูลภายในแล้วนำข้อมูลไปหาประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้อื่น
6. การใช้บุคลากรหรือทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนตน
7. การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง
8. การใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แก่เครือญาติหรือพวกพ้อง (Nepotism)
9. การใช้อิทธิพลเข้าไปมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐอื่น
ดังนั้น การดำเนินการเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนภายในหน่วยงาน จึงเป็นมาตรการอย่างหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานสามารถป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานจะต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานหรือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่อาจจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และจะต้องมีการสร้างระบบเพื่อป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งจะต้องมีการจัดประชุม หรืออบรม/สัมมนา หรือแลกเปลี่ยนความรู้ภายในหน่วยงานในการให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน จิตพอเพียงต้านทุจริต แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลูกฝังและปรับฐานความคิดของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานให้มีความตระหนัก และสามารถแยกแยะเรื่องประโยชน์ส่วนตัว ออกจากเรื่องประโยชน์ส่วนรวมได้ - EB 20 หน่วยงานมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน
- รายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงในการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนประจำปี 2563…คลิ๊ก
- EB 21 หน่วยงานมีการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการกำหนดมาตรการ กลไกหรือการวางระบบในการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน
- ประกาศกรอบแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงานประจำปี 2563…คลิ๊ก
- EB 22 หน่วยงานมีการประชุม หรืออบรม/สัมมนา หรือแลกเปลี่ยนความรู้ภายในหน่วยงานในการให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน จิตพอเพียงต้านทุจริต แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานหรือไม่
- ขอเชิญประชุมวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน….คลิ๊ก
- วาระประชุมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน….คลิ๊ก
- ITA -EB 23-24 ตัวชี้วัดที่ 11 : แผนป้องกันและปราบปรามการทุจริต และแผนส่งเสริมคุณธรรม
คำอธิบาย
หน่วยงานดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อเป็นการสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานได้อย่างเป็นรูปธรรมและอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านการทุจริต การยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแบบบูรณาการ ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข บริบทของหน่วยงาน และบริบทของสังคมไทย รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน และการพัฒนาระบบ ในส่วนของการพัฒนาคนนั้น เริ่มพื้นฐานจากจิตใจ จิตสำนึกเป็นสำคัญ ทำให้สังคมกระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรม สุจริต ปรับและหล่อหลอมพฤติกรรมให้มีจิตสำนึกยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ค่านิยมของบุคลากรในการต่อต้าน การทุจริต รู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงานของรัฐ และในส่วนของการพัฒนาระบบ มุ่งเน้น การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานที่เหมาะสมกับบริบท สภาพปัญหา และพลวัตการทุจริตของแต่ละหน่วยงานโดย
1. แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน มุ่งเน้นประเด็นการป้องกันการทุจริตผ่าน 6 กระบวนการ ดังนี้
1.1 กระบวนการปลูกฝังวิธีคิด ปลูกจิตสำนึก ให้มีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต
1.2 กระบวนการป้องกันการทุจริตให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
1.3 กระบวนการสนับสนุนแนวร่วมปฏิบัติกับภาคเอกชนในการมต่อต้านการทุจริต
1.4 กระบวนการปราบปรามการทุจริต
1.5 กระบวนการส่งเสริมคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุข
1.6 กระบวนการคุ้มครองจริยธรรม
การนี้ แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน เป็นไปตามคู่มือแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมุ่งหมายที่จะบรรลุเป้าหมาย ตัวชี้วัด อย่างมี ประสิทธิภาพ ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561-2580) ยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณ พ.ศ. 2563 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) แผนแม่บทการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ กระทรวงสาธารณสุข ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) และแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานต้องจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงานตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี งบประมาณ พศ. 2563 ที่กำหนดแนวทางดังนี้แนวทาง ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึกให้มีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต
ตัวชี้วัด เจ้าภาพ ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA (ร้อยละ 90) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค จำนวน 1,850 หน่วยงาน (สสจ./รพศ./รพท./สสอ./รพช.)
2. แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณของหน่วยงานมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมภายใต้ชมรมจริยธรรม ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ที่บรรลุตามวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทส่งเสริมคุณณธรรม กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) โดยดำเนินการดำเนินการตามหลักการ คือ (1) ระเบิดจากข้างใน (2) ทำแบบองค์รวม (3) ทำตามหลักความจริง (4) การมีส่วนร่วม และ (5) ทำความดีเพื่อความดี และพัฒนาองค์กรคุณธรรมตามขั้นตอน ดังนี้ (1) ทำให้ทุกคนตกลงใจร่วมกัน (2) ค้นหาความจริงขององค์กร (3) ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน (4) กำหนดวิธีการและกลไกในการปฏิบัติงาน (5) ลงมือปฏิบัติจริงให้เป็นวิถีชีวิต (6) ถอดบทเรียนเพื่อสร้างความรู้ (7) สร้างกิจกรรมชื่นชมยกย่อง (8) สร้างเครือข่ายคุณธรรมและ (9) ประเมินผลลัพธ์ผลกระทบ สอดคล้องกับ (1) คุณธรรม 4 ประการ ตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559-2564) คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา (2) พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 (3) ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 (4) แนวทางปฏิบัติตามจรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข (MOPH code of Conduct) และ (5) คุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ ที่มีหลักการสำคัญ คือ “เกรงใจ น้ำใจ ใคร่ครวญ ส่วนรวม”ให้เกิดความเข้มแข็งจากภายใน เกิดกระบวนการสร้างวัฒนธรรมสุจริตของบุคลากรในองค์กร และพัฒนาเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ภายใต้หลักการ “ระเบิดจากข้างใน” มีแนวคิดให้คุณธรรมนำการพัฒนายั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข ราชการบริหารส่วนกลาง ถือเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อสังคมของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้หลักการ “ระเบิดจากข้างใน”ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งภายในตั้งแต่ระดับจุลภาค สู่ระดับมหภาค โดยใช้แนวคิด “คุณธรรมนำการพัฒนา” อันจะนำไปสู่ความมั่นคง สงบสุขของสังคม ด้วยมิติทางศาสนาความมั่งคั่ง เข้มแข็ง ของประชาชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน - EB 23 หน่วยงานมีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน
- วแผนกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น….คลิ๊ก
- EB 24 หน่วยงานมีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน
- คำสั่งแต่งตั้งคณกรรมการดำเนินงานส่งเสริมและยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ…คลิ๊ก
- ITA -EB 25-26 ตัวชี้วัดที่ 12 : มาตรฐานและความเป็นธรรมในการปฏิบัติงานและการให้บริการ
คำอธิบาย
หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินมีการกำกับดูแล มาตรฐานและความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน และการให้บริการที่เป็นรูปธรรม จะต้องกำหนดกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ที่ชัดเจน และประเมินกระบวนการมุ่งตอบสนองต่อผู้รับบริการหรือประชาชน ด้วยการพัฒนากระบวนการอำนวยความสะดวก การให้บริการประชาชน ด้วยการแสดงขั้นตอน ระยะเวลาที่ใช้ ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียม - EB 25 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
- ประกาศกรอบแนวทางการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำปี 2563 …คลิ๊ก
- รายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น 2563..คลิ๊ก
- EB 26 หน่วยงานมีการเผยแพร่กระบวนการอำนวยความสะดวก หรือการให้บริการประชาชนด้วยการแสดงขั้นตอน ระยะเวลาที่ใช้
- การเผยแพร่ข้อมูลผ่านเวบไซน์เรื่องขั้นตอนการให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น…คลิ๊ก
- ขั้นตอนการให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น…คลิ๊ก